ทุกครั้งที่ฉันอาบน้ำให้เด็กแรกเกิด... ฉันคิดว่าเด็กๆ แต่ละคนหน้าตาคล้ายกัน เดาไม่ออกว่าโตขึ้นจะเหมือนไปทางพ่อ แม่ หรือปู่ย่า ตายาย ตรงไหนบ้าง... ตอนเกิดมาใหม่ๆ ทุกคนมีคิ้วคาง ปากนิดจมูกหน่อย นิ้วน้อยๆ หรือแม้กระทั่งกล่องดวงใจ ขนาดจิ๋วๆ ด้วยกันทั้งนั้น... พอบรรดาญาติๆ มาเห็นเข้า ก็มักจะออกปากเป็นเสียงเดียวกันว่า “น่ารักน่าชังเป็นบ้า”.... และมันทำให้ผู้เป็นพ่อและแม่ของเด็กน้อย ยิ้มปลื้มกันหน้าบาน...
|
ไม่เหมาะที่จะพูดคำนิยมว่า น่ารักน่าชัง... อิอิ |
ภาษาไทยนี่ก็แปลกไม่น้อย มีหลายประโยคทีเดียวที่เมื่อได้ฟังแล้วคิดตรงไปตรงมา บางทีก็ทำให้ปวดหัวหนึบๆ... ที่จริงแล้ว คำว่า “น่ารักน่าชังเป็นบ้า” น่าจะหมายถึง ‘น่ารักน่าเอ็นดู อย่างมาก’ อย่าได้บังอาจแปลตรงตัวเข้าเชียวล่ะ โดยเฉพาะคำว่า ‘น่าชัง กับ เป็นบ้า’ เดี๋ยวดีไม่ดี พ่อเด็กได้ชกปากเข้าให้... ช่วยไม่ได้... เง้อ...
|
น่ารักอ่ะ |
แต่หากจะเอ่ยชมเด็กโต เด็กหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ มักจะไม่มีใครใช้คำว่าน่ารักน่าชังเป็นบ้าหรอก ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร หรือมีใครออกกฎเกณฑ์นี้ไว้หรือเปล่า... ลองหลับตานึกภาพดูเถิด ถ้าหากมีหญิงสาวโสภาสักคนถูกชมแบบที่ว่า... เธอจะรู้สึกยินดีหรือโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ... ฮ่าๆๆ...
ภาษาไทยดิ้นได้.ยากส์จริงๆ.ที่จะเรียนรู้ได้ลึกซึ้ง คำว่าน่าชัง เราเรียกว่าเป็นคำสร้อยเสริมบท มีที่มาอย่างไรไม่มีใครทราบ อาจจะเอามาเสริมเพื่อให้ฟังลื่นหู ดูไม่ห้วน แต่ไม่ได้ต้องการความหมาย
ตอบลบอืมม.ดูจะวิชาการ..อย่าเลยเครียดๆ..แต่ผู้เขียนสามารถนำมาผูกเป็นเรื่องให้อ่านได้สบายๆและน่าจะได้ข้อคิดว่า เราควรเลือกใช้คำให้ถูกเวลา ถูกสถานที่ ถูกกาลเทศะ เข้าทำนองว่า พูดดีเป็นศรีแก่ปาก..จริง..จริงจริง
ขอบพระคุณผู้เขียนมากค่ะ ^kon chon^
ยินดีจ้า... แล้วติดตามอ่านอีก... นะจ๊ะ นะ
ลบ