เพิ่งกลับจากไปเยี่ยมบ้านที่ปักษ์ใต้มา... ฉันเพิกเฉยกับสมบัตินอกกายร่วมสิบปีทีเดียว...
ครั้งนี้ ได้รับรู้ เห็นและได้ข้อคิดกลับมา... หลายอย่าง... ไม่ลืมที่จะบันทึกไว้...
เผื่อว่าวันหนึ่งข้างหน้า... เจอเหตุการณ์ของคนอื่นในทำนองเดียวกัน จะได้เตือนตัวเองทัน...
ไม่พุ่งพล่านไปจัดการอะไรให้มากความ อย่างที่คนอื่นเค้าลงมือทำกัน...
อืมห์... การรับฟังเรื่องราวอย่างสงบ... นิ่ง... น่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุด!
เคยบ้างไหม? ที่รู้สึกสะดุดใจกับปัญหาหลายอย่าง ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมโดยสิ้นเชิง...
น้ำไม่ไหล... ไฟฟ้าดับ... พายุ-ฝนฟ้าคะนอง... แผ่นดินไหว... หิมะตกหนัก... ญาติเจ็บป่วย... ฯลฯ
ทุกอย่างที่กล่าวมา... มันหาใช่ธุระของเราไม่... ล้วนแต่มิใช่กงการอะไรของเราทั้งสิ้น... สิน่า
เคยบ้างไหม? ที่รู้สึกสะดุดใจกับปัญหาหลายอย่าง ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมโดยสิ้นเชิง...
น้ำไม่ไหล... ไฟฟ้าดับ... พายุ-ฝนฟ้าคะนอง... แผ่นดินไหว... หิมะตกหนัก... ญาติเจ็บป่วย... ฯลฯ
ทุกอย่างที่กล่าวมา... มันหาใช่ธุระของเราไม่... ล้วนแต่มิใช่กงการอะไรของเราทั้งสิ้น... สิน่า
ใครที่มีจิตใจอ่อนไหว หวาดหวั่น สะเทือนทรางง่ายๆ เมื่อได้ยินได้ฟังคำพูดของคนอื่น แล้วรับมาเป็นเศษอารมณ์บาดความรู้สึก ให้ต้องเจ็บปวดเป็นนานสองนาน... เช่นนี้ พึงระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อพระราหุล... ที่สอนให้ทำภาวนา คือ อบรมใจเสมือนดิน... หากทำได้แล้วไซร้ ทุกสิ่งที่มากระทบใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีหรือไม่ ก็จักไม่ครอบงำจิตได้ เพราะอะไรน่ะหรือ?... ความจริง คือ ผู้คนล้วนแต่ทิ้งสิ่งของต่างๆ ทั้งที่สะอาด ไม่สะอาด รวมถึงสิ่งปฏิกูลลงบนผืนดิน... แต่ดินกลับไม่เคยรังเกียจเดียดฉันท์สิ่งเหลานั้นเลย... กระนั้นแล้ว หากเตือนตนให้เป็นดั่งดินได้ ไม่ว่าใครจะว่าอะไร ทำอะไร เช่นไร... ก็มิพึงต้องรับมาหรือรู้สึกกระทบกระเทือน... เขาจะชื่นชมหรือตำหนิ มันก็เรื่องของเขา ไม่จำเป็นต้องใส่ใจคำพูดของใคร ไม่ว่าจะในทางดีหรือไม่ก็ตาม.. คิดเสียว่าธุระไม่ใช่ จะได้ไม่รู้สึกทุกข์ใจเลย ทำได้หรือเปล่าล่ะ?
เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยทั้งหลาย... ใครที่เคยทำสมาธิได้ถึงระดับที่นิ่งพอ... ก็จะเตือนตัวเองได้ว่า เจ็บป่วยหนอ... สังขารไม่เที่ยงหนอ... ปล่อยให้ร่างกายเยียวยารักษาส่วนที่สึกหรอเอง... เชื่อไหมว่าความคิดเช่นนั้นมีพลังมากพอที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ดีได้อย่างน่าพิศวง... ดังเช่น พระคุณเจ้าท่านหนึ่ง ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หมอรักษาอย่างดีที่สุดแล้วแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น... จึงถูกส่งกลับวัดเพื่อให้มรณภาพที่วัดอย่างสงบ... ท่านกลับมานั่งทำสมาธิอยู่ที่วัดและมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกตั้ง 25 ปี จึงมรณภาพด้วยความชรา... ผิดกับคนที่วิตกทุกข์ร้อนกับความเจ็บป่วยมากๆ แล้วมันยิ่งทำให้สุขภาพย่ำแย่ ทรุดหนัก และอาจเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็ว... หรือบางครั้งที่เราเห็นปัญหาของคนอื่นแล้วพยายามยื่นมือเข้าไปช่วย... แต่กลับกลายเป็นว่าไปทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง... มาคิดได้ภายหลังว่า รู้อย่างงี้ สู้ปล่อยวางเสียยังดีกว่า... ให้มันเป็นไป-ธุระไม่ใช่... ลืมๆ มันเสียบ้าง... ปล่อยวาง... อุเบกขา... ฉันจะทำได้อย่างที่คิดไหมหนอ?
เข้าใจว่า ผู้มีอุเบกขา คือ ต้องหนักแน่น มีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจหรือเสียใจจนเกินเหตุ... เมื่อจิตถึงพร้อมในความสงบแล้ว... ย่อมมีดุลยพินิจที่จะใคร่ครวญเรื่องราวใหญ่น้อยนานา ได้ดีกว่า... และผู้ที่ได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนาเบื้องต้นมาบ้าง... น่าจะสำรวมกายใจ ปล่อยวาง อุเบกขา... ได้โดยไม่ยาก... ฉันเชื่อเช่นนั้น... และฉันมักจะกระทำไปในทิศทางที่กล่าวมา... เสมอๆ... :)
ขอบคุณ : The Art of Disappearing – The Buddha’s Path to Lasting Joy by Ajahn Brahm
เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยทั้งหลาย... ใครที่เคยทำสมาธิได้ถึงระดับที่นิ่งพอ... ก็จะเตือนตัวเองได้ว่า เจ็บป่วยหนอ... สังขารไม่เที่ยงหนอ... ปล่อยให้ร่างกายเยียวยารักษาส่วนที่สึกหรอเอง... เชื่อไหมว่าความคิดเช่นนั้นมีพลังมากพอที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ดีได้อย่างน่าพิศวง... ดังเช่น พระคุณเจ้าท่านหนึ่ง ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หมอรักษาอย่างดีที่สุดแล้วแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น... จึงถูกส่งกลับวัดเพื่อให้มรณภาพที่วัดอย่างสงบ... ท่านกลับมานั่งทำสมาธิอยู่ที่วัดและมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกตั้ง 25 ปี จึงมรณภาพด้วยความชรา... ผิดกับคนที่วิตกทุกข์ร้อนกับความเจ็บป่วยมากๆ แล้วมันยิ่งทำให้สุขภาพย่ำแย่ ทรุดหนัก และอาจเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็ว... หรือบางครั้งที่เราเห็นปัญหาของคนอื่นแล้วพยายามยื่นมือเข้าไปช่วย... แต่กลับกลายเป็นว่าไปทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง... มาคิดได้ภายหลังว่า รู้อย่างงี้ สู้ปล่อยวางเสียยังดีกว่า... ให้มันเป็นไป-ธุระไม่ใช่... ลืมๆ มันเสียบ้าง... ปล่อยวาง... อุเบกขา... ฉันจะทำได้อย่างที่คิดไหมหนอ?
เข้าใจว่า ผู้มีอุเบกขา คือ ต้องหนักแน่น มีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจหรือเสียใจจนเกินเหตุ... เมื่อจิตถึงพร้อมในความสงบแล้ว... ย่อมมีดุลยพินิจที่จะใคร่ครวญเรื่องราวใหญ่น้อยนานา ได้ดีกว่า... และผู้ที่ได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนาเบื้องต้นมาบ้าง... น่าจะสำรวมกายใจ ปล่อยวาง อุเบกขา... ได้โดยไม่ยาก... ฉันเชื่อเช่นนั้น... และฉันมักจะกระทำไปในทิศทางที่กล่าวมา... เสมอๆ... :)
อืมห์... จริงสินะ... ไม่ใช่ธุระ... ธุระไม่ใช่... การคิดได้แบบนี้บ่อยๆ ประเดี๋ยวความอึดอัดขัดเคืองมันคงค่อยๆ เลือนหายไปจากความรู้สึกเอง... ดีกว่ายึดมั่นถือมั่นเอาไว้... ให้มันค้างคาอยู่ในใจ หรือให้โอกาสมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ... ไม่เอาดีกว่า... อย่างน้อย เมื่อฉันเตือนตัวเองได้ว่าธุระไม่ใช่... แล้วสงบใจ-เพิกเฉยไปได้บ้าง... ความรู้สึกทุกข์ทนหม่นเศร้า... ก็ย่อมเบาบางลง... กว่าที่ผ่านมา...
อย่าเลย... อย่าเพิ่งเชื่อถือ หรืองมงายไปกับความคิดอันอ่อนด้อยความรู้แจ้งเห็นจริงของฉันเลย... ไปลองศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติด้วยตัวเองเถิด...
ได้ผลเช่นไร... ค่อยกลับมาคุยกัน... นะ นะ
อย่าเลย... อย่าเพิ่งเชื่อถือ หรืองมงายไปกับความคิดอันอ่อนด้อยความรู้แจ้งเห็นจริงของฉันเลย... ไปลองศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติด้วยตัวเองเถิด...
ได้ผลเช่นไร... ค่อยกลับมาคุยกัน... นะ นะ
ขอบคุณ : The Art of Disappearing – The Buddha’s Path to Lasting Joy by Ajahn Brahm
เรื่องกระชับ.อ่านแล้วเข้าใจง่าย..ได้แง่คิดและแนวปฏิบัติ ดีค่ะ น้องปฏิบัติเช่นนี้อยู่เนืองๆ..ปล่อยวาง..ว่างๆ..ซะบ้าง..ได้ผลค่ะ ทำให้มีสติ.ไม่รู้สึกโกรธ.ทุกข์น้อย.ไม่ตื่นเต้นกะเหตุการณ์ต่างๆ ขอบพระคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมามอบให้ผู้อ่านค่ะ
ตอบลบจ้ะ... ถ้าหากมีจิตใจใฝ่สงบ ย่อมสัมผัสความสุขได้โดยง่าย... สาธุ
ลบThere go away be outsize confirm of Facebook customers viewing your salience routine.
ตอบลบNow envisage that you soul a Facebook salience which greets them with a lot of graphics and pictures.
That is the place Fb layouts travel useful. You're allowed to find out layouts of divergent designs and graphics.
search engines make ()